นักเรียนนายสิบตำรวจ

อีกหนึ่งเส้นทางลูกผู้ชาย ที่หลายๆคนต้องการ

ภาพจาก website : mthai.com

เชื่อว่าความฝันของเด็กผู้ชายหลายๆคน ส่วนใหญ่ถ้าถามนั้น ตำรวจ ยังเป็นอีกอาชีพยอดฮิตของเด็กผู้ชาย แล้วการที่จะเป็นตำรวจนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง กวดวิชาติดดาวจะขอนำเสนอบทความน่ารู้นี้ เพื่อให้น้องๆเป็นข้อมูล สำหรับน้องท่านใดที่สนใจจะเป็น "ตำรวจ"

การเป็นตำรวจมีหลายเส้นทาง

1.การเป็นนักเรียนเตรียมทหาร และเป็นนักเรียนนายร้อย จบมาเป็น นายร้อยตำรวจหรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ชั้นยศ ร.ต.ต.

2.การเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ หรือเมื่อก่อนเรียกว่า พลตำรวจ จบมาเป็นนาบสิบตำรวจหรือนายตำรวจชั้นประทวน

3.การสอบแข่งขันจากการเปิดสอบอื่นๆ มีทั้งสัญญาบัตร และชั้นประทวน เช่น พยาบาลตำรวจ พนักงานสอบสวน พิสูจน์หลักฐาน ตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจสื่อสาร เป็นต้น

แต่ในส่วนนี้เราจะกล่าวถึง การเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนักเรียนนายสิบตำรวจ

 

 

ภาพจาก www.thairath.co.th

สำหรับ การเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ

...น้องๆต้องเรียน จบ.ชั้น ม.4 หรือ เทียบเท่า สอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้ จะใช้เวลาเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นจะแยกไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือที่เรียกกันว่าโรงเรียนเหล่า ใช้เวลาเรียนใน รร.นายร้อยตำรวจอีก 4 ปี เมื่อเรียนจบจะได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตำรวจตรี

********************************************

 

 

สำหรับ การเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ

ผู้ที่จะสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (สายปราบปราม) จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมาหากษัตริย์อย่างสูงสุด
2.เพศชาย
3.อายุระหว่าง 18-27 ปีบริบูรณ์
4.ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
5.จบการศึกษา ม.6 หรือ เทียบเท่า
6.ไม่ติดภาระทางทหาร
7.ไม่เป็นผู้ที่ลาออกมาแล้วไม่ถึง 1 ปี
8.นักบวช พระภิกษุ นักพรต ไม่สามารถสอบได้
(ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดได้จากประกาศของกองการสอบ)

 

การเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจนั้น จะสอบแยกในแต่ละสังกัด เช่น ตำรวจนครบาล ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจภูธรภาคต่างๆ เราสามารถเลือกได้ว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะลงในส่วนไหน

การเปิดรับสมัครจะเปิดรับสมัครปีละ 1 ครั้ง ระหว่างประมาณเดือน ต.ค..-ธ.ค. ของทุกปี และจะสอบรอบแรกหรือภาควิชาการประมาณเดือน ธ.ค.-ก.พ. ของทุกปี ทั้งนี้ขี้นอยู่กับการประกาศจากทางกองการสอบ (สามารถเข้าไปดูข้อมูลจากเว็บไซต์กองการสอบได้ที่  http://www.policeadmission.org/Main/FrmPolIndex.aspx )

และขั้นตอนในการสอบคัดเลือกจะแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ 

 

1.ภาควิชาการ (ข้อสอบทั้งหมดจะมี 150 ข้อ) โดยเนื้อหาวิชาในการใช้สอบมีทั้งหมด 6 วิชาได้แก่

-1.1 ความสามาถทั่วไป  30 ข้อ
ความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจำนวน โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วยการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมย อนุกรม และมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการคิดเชิงจำนวน ประกอบด้วยคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การคำนวนขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ การแก้สมการและอสมการ เซต ตรรกศาสตร์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย

-1.2 ภาษาไทย 25 ข้อ
ความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่ ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้คำให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์และความนิยม การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่างๆ

-1.3 ภาษาอังกฤษ  30 ข้อ
ความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ (Reading for Comprehension) คำศัพท์ (Vocabulary) โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure Sentence) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น

-1.4 สังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซี่ยน  20 ข้อ 
ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หน้าที่พลเมือง หลักศิลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมและการปฏิบัติงาน และหลักธรรมาภิบาล และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

-1.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เพื่อสำนักงาน  25 ข้อ
ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ความรู้ในการใช้โปรแกรมสำหรับเอกสารในสำนักงาน เช่น Microsoft office ( word,excel,powerpoint)

-1.6 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้  20 ข้อ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ที่ประชาชนควรรู้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง ป.วิอาญา และพรบ.ต่างๆ เช่น พรบ.บัตรประชาชน พรบ.ทะเบียนราษฯ พรบ.ยาเสพติด พรบ.จราจร ฯลฯ
 


อร์สรับรองผล คลิก

 

2.ภาคปฏิบัติ หรือ พละศึกษา มีทั้งหมด 5 สถานี และเเบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 วิ่ง 1000 เมตร - ว่ายน้ำ 25 เมตร

กลุ่มที่ 2 วิ่ง 50 เมตร-วิ่งเก็บของ-ยืนกระโดดไกล

โดยรอบนี้จะไม่มีคะแนน จะมีแค่ผล ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน

 

3.การตรวจร่างกายและการทดสอบสุขภาพจิต

หรือการทดสอบทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งเพื่อใช้ทดสอบบุคลิกภาพของบุคคล ว่ามีลักษณะนิสัย ความคิดและพฤติกรรมในตัวบุคคลมิใช่แบบทดสอบที่วัดเรื่องสุขภาพจิต

 

4.การสอบสัมภาษณ์ 

สอบถามเรื่องความรู้เกี่ยวกับตำรวจ เช่น

-รายนาม ผู้บังคับบัญชาที่สำคัญ ผบ.ตร. ฯลฯ https://www.royalthaipolice.go.th/commander.php

-อุดมคติตำรวจ 9 ข้อ ความคิดและทัศนะคติต่อวิชาชีพ 

http://opc.police.go.th/OPC_Police/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88/

 

5.การตรวจสอบคุณสมบัติ การตรวจประวัติอาชญากรรม และความประพฤติ

 

***** และเมื่อผ่านขั้นตอนตามนี้จึงจะประกาศผลสอบรอบสุดท้าย และผู้ที่สอบผ่านจะเข้าทำสัญญาและได้เข้าเรียนในแต่ละศูนย์ฝึกที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ปัจจัยที่ส่งผลในความสำเร็จ

1.ตัวเอง

ผู้ที่จะสอบติดนั้นต้องมีความตั้งใจ  อีกทั้งการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย จิตใจ รวมถึงข้อมูลต่างๆ ทั้งเอกสาร ตำรา แบบเรียน รวมถึงแนวข้อสอบและข้อสอบเก่าที่จะต้องใช้สำหรับฝึกทำ และที่สำคัญที่สุดคือ ความมีวินัย 

2.ครู อาจารย์ หรือ ติวเตอร์

จะต้องมีประสบการณ์ในการสอน การวิเคราะห์โจทย์ การเก็งข้อสอบ รวมถึงการวางแผนให้กับน้องๆว่า จะมีวิธีการอย่างไรทำให้น้องๆสามารถสอบติดได้ โดยดูจากผลงานและสตอรี่ที่ผ่านมา ติวเตอร์ที่ดี จะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายทันทีอันนี้ยืนยัน

3.เวลา

สิ่งนี้สำคัญมากไม่แพ้ปัจจัยอื่น  สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานที่ดีอาจจะใช้เวลานิดเดียว ในการคว้าชัยชนะก็สามารถสำเร็จได้ แต่สำหรับผู้ที่พื้นฐานไม่ดี หรือไม่มีประบการณ์ในการสอบ อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรหรือพูดง่ายๆกว่าจะสอบได้ก็หลายรอบ  

4.สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยนี้มีผลอย่างไร ถ้าเราอยู่กับกลุ่มคนที่เขาอยู่กับหนังสือตำรา หรือพัฒนาตนเองอยู่ตลอดก็จะทำให้เราซึมซับในสิ่งๆนั้น สิ่งเเวดล้อมหรือบรรยากาศ ก็จะทำให้เรามีความขยันรวมถึงเป็นแรงกระตุ้นไปในตัว แต่ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยมีวินัย การอยู่คนเดียวค่อนข้างอันตราย (ง่ายต่อการขี้เกียจอ่านหนังสือ 555 นอนดีกว่า ) หรือที่แย่ไปกว่านั้น การที่เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี อาจจะส่งผลเสียด้วยซ้ำ เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยว (อันนี้เห็นมาเยอะ)  หรือ ไม่สะดวกต่อการเตรียมตัวสอบก็จะยิ่งทำให้เราไม่สามารถคว้าชัยชนะมาได้

5.ดวง 1%

บางคนสอบผ่านทั้งภาควิชาการและพละศึกษา แต่กับไปตกสถานีตรวจโรค หรือ ซวยไปกว่านั้นในวันที่ทำการสอบเกิดป่วยขึ้นมากระทันหัน ดวงจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลในการสอบได้ แต่หากว่าเรามีการเตรียมตัวที่ดี (กินอิ่ม นอนหลับ ขัยถ่ายออก) ก็สามารถที่จะผ่านไปได้ ดั่งคำที่ว่า "ลิขิตฟ้า หรือ จะสู้มานะตน"


 

นายสิบตำรวจ ติวนายสิบตำรวจ สอบนายสิบตำรวจ สอบตำรวจ สอบตำรวจสายปราบปราม สอบนายสิบ สอบข้าราชการ ข้าราชการ ตำรวจ รร.ตำรวจ นักเรียนตำรวจนร.ตำรวจ นายร้อย กวดวิชา ติวเตอร์ police gurupolice เรียนพิเศษ กองการสอบ กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สอบนายสิบตํารวจ 2565 สอบนายสิบตํารวจ 65 สมัครสอบนายสิบตํารวจ 2565 กองการสอบ สอบตํารวจ 66 นายสิบตำรวจ 63 นสต. - ตำรวจภูธรภาค 1 (ภ.1) - ตำรวจภูธรภาค 2 (ภ.2) - ตำรวจภูธรภาค 3 (ภ.3)  - ตำรวจภูธรภาค 4 (ภ.4)  - ตำรวจภูธรภาค 5 (ภ.5) - ตำรวจภูธรภาค 6 (ภ.6) - ตำรวจภูธรภาค 7 (ภ.7) - ตำรวจภูธรภาค 8 (ภ.8)  - ตำรวจภูธรภาค 9 (ภ.9) - กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) - กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)  คอร์สติวนายสิบตํารวจ ออนไลน์โรงเรียนติวนายสิบตํารวจ กรุงเทพติวสอบตำรวจ รับรองผลติวสอบนายสิบตํารวจ 65ติวสอบนายสิบตํารวจ 64ติวสอบตํารวจหญิง ออนไลน์

 

 

ติวนายสิบตำรวจ คอร์สประจำตลอดปี สอบไม่ติดคืนเงินค่าเรียนเต็มจำนวน
Powered By : Zeasyweb